ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เปิดงานวิจัยชนะเลิศ เครื่องฉายรังสีในเด็ก

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เปิดงานวิจัยชนะเลิศ เครื่องฉายรังสีในเด็ก

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เปิดเผยว่า ในโครงการประชุมวิชาการนักศึกษารังสีเทคนิค ครั้งที่ 3 ประจำปี 2566 เมื่อวันที่ 31 มี.ค. ที่ผ่านมา นักศึกษารังสีเทคนิค คณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ สามารถคว้าผลงานวิจัยชนะเลิศ เครื่อง MRI mock-scanner ช่วยลดการเคลื่อนไหวบริเวณศีรษะในกลุ่มเด็ก ประหยัดต้นทุนนำเข้า โดยมีนักศึกษาเจ้าของงานวิจัย ได้แก่ น.ส.นันทิกานต์ สงทิพย์, น.ส.พรรษชนก ปันทะรส และ น.ส. ปิยณิตา กลิ่นจำปา ซึ่งได้เปิดเผยที่มาของการวิจัย ว่า สำหรับงานวิจัย แนวคิดเริ่มมาจาก 2 ปัญหาหลัก คือ

1.การเกิดสิ่งแปลกปลอมหรือความเบลอขึ้นในภาพ MRI ในกลุ่มเด็ก ที่ไม่สามารถอยู่นิ่ง ๆ ได้นาน

2.การตื่นกลัวต่อการตรวจด้วยเครื่อง MRI ที่มีเสียงดังและลักษณะของเครื่องที่เป็นอุโมงค์แคบ ทำให้ผู้เข้ารับการตรวจกลุ่มเด็กเกิดอาการกลัวและไม่สามารถเข้ารับการตรวจได้

ซึ่งทั้งหมดก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแปลกปลอมหรือความเบลอขึ้นในภาพ MRI และอาจนำไปสู่ความยากในการวินิจฉัยให้ถูกต้อง

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เปิดงานวิจัยชนะเลิศ เครื่องฉายรังสีในเด็ก

ผู้วิจัยยังกล่าวอีกว่า จุดประสงค์ของงานวิจัยการตรวจด้วยเทคนิคฟังก์ชั่นนอลเอ็มอาร์ไอ (fMRI) ในอาสาสมัครเด็ก (MRI mock-scanner for the reduction of head movement in pediatric participants undergoing fMRI scanning) เพื่อพัฒนาอุปกรณ์จำลองการตรวจด้วยเครื่อง MRI ที่มีต้นทุนการผลิตที่มีราคาถูกลงเมื่อเทียบกับอุปกรณ์ที่มีขายในท้องตลาด และสามารถช่วยลดการเคลื่อนไหวบริเวณศีรษะของอาสาสมัครเด็กได้ โดยประโยชน์ของงานวิจัยชิ้นนี้ คือ คาดว่า MRI mock-scanner สามารถลดการเคลื่อนไหวบริเวณศีรษะที่เกิดขึ้นขณะตรวจด้วย MRI ส่งผลให้ได้ภาพถ่ายทางการแพทย์ที่มีคุณภาพ ช่วยให้รังสีแพทย์สามารถวินิจฉัยได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และ MRI mock-scanner ที่ผลิตขึ้น ใช้ต้นทุนในการผลิตต่ำ สามารถใช้เป็นต้นแบบในการเตรียมการตรวจผู้ป่วยกลุ่มเด็กหรือผู้ป่วยกลุ่มอื่น ๆ ในอนาคตได้“ประโยชน์ที่จะได้รับหลักๆ 4 ประเด็น คือ

1.ลดต้นทุนในการผลิต MRI mock-scanner ที่ต่ำกว่าอุปกรณ์ที่มีขายในท้องตลาด

2.อาสาสมัครเข้ารับการตรวจจริงหลังจากฝึกฝนเสร็จโดยทันที ข้อดีคืออาสาสมัครสามารถเข้ารับการตรวจจริงต่อได้โดยไม่ต้องมีการนัดมาเพิ่มอีกหนึ่งวัน แต่พบปัญหาความเหนื่อยล้าของอาสาสมัคร จึงควรให้อาสาสมัครพักก่อนเข้ารับการตรวจจริงอย่างน้อย 1 ชั่วโมง จึงจะสามารถลดปัญหานี้ได้และช่วยลดภาระในการมาโรงพยาบาลของอาสาสมัคร

3.ในขณะฝึกฝนอาสาสมัครมีการเคลื่อนไหวบริเวณศีรษะที่น้อย แสดงให้เห็นถึงทิศทางที่ดีในอนาคต และ

4.เราเห็นว่า 100 เปอร์เซ็นต์ของกลุ่มอาสาสมัครเด็กที่ได้รับการฝึกฝนด้วย MRI mock-scanner นั้นสามารถเข้ารับการตรวจได้โดยไม่มีความตื่นกลัว จึงสามารถสรุปได้ MRI mock-scanner ที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถช่วยลดความตื่นกลัวของอาสาสมัครเด็กได้จริง” ผู้วิจัย กล่าว

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ lsoriginals.com

แทงบอล

Releated